กลยุทธ์บริหารฟิตเนส 4Ps มันเก่าไป ฟิตเนสยุคใหม่ต้อง 4C Marketing

การแข่งขันที่ดุเดือดในตลาดธุรกิจฟิตเนส ทำให้เจ้าของธุรกิจจำเป็นต้องงัดทุกกลเม็ดมาใช้ เพื่อดึงดูดลูกค้าให้มาใช้บริการมากขึ้น แต่ในปี 2024 จะใช้กลยุทธ์ 4Ps ถือว่าเก่าเกินไปและอาจใช้ไม่ได้ผลในปัจจุบัน NBA Sportmanagement เลยจะมาแนะนำกลยุทธ์ใหม่อย่าง 4C Marketing ที่จะช่วยเอาชนะใจลูกค้า ให้ฟิตเนสยืนหนึ่งทั้งการให้บริการและการขายกันในบทความนี้

รู้จัก 4C Marketing เครื่องมือที่คิดจากมุมมองของ “ลูกค้า”

4C Marketing คือส่วนผสมทางการตลาด ที่พัฒนาต่อมาจาก 4P โดยคิดในมุมมองของการ วิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภค เป็นหลัก เพื่อนำมาเป็นเครื่องมือ ใช้พัฒนาธุรกิจให้เอาชนะใจลูกค้า สร้างความภักดีต่อแบรนด์ (Brand Loyalty) โดยมี 4C ประกอบด้วย

ขอบคุณภาพจาก collegevidya
  • Consumer - ความต้องการของผู้บริโภค
  • Cost - ต้นทุนของผู้บริโภค
  • Convenience - ความสะดวกในการซื้อ
  • Communication - การสื่อสาร

ซึ่งแต่ละ C จะให้ความสำคัญกับความคิด หรือความรู้สึกของลูกค้า เป็นหลัก ต่างจาก 4P ที่จะคิดจากมุมมองของตัวธุรกิจเองเป็นหลัก ทำให้ตอบโจทย์พฤติกรรมการซื้อของลูกค้าในปัจจุบันมากขึ้น ที่มักจะคิดอย่างละเอียดถี่ถ้วน ไม่ได้มองแค่การได้รับสินค้าหรือบริการ แต่มองถึงประสบการณ์ (Experience) ความคุ้มค่าที่ได้รับด้วย

ทำความเข้าใจ ข้อดี/จุดเด่นของ 4C Marketing

จุดเด่นที่ทำให้การใช้ 4C กับธุรกิจฟิตเนสดีกว่า 4Ps นั้นมีดังต่อไปนี้

1.ความต้องการของผู้บริโภค (Consumer)

ปรับมาให้ความสำคัญกับความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก โดยดูว่ากลุ่มเป้าหมายที่ฟิตเนสต้องการเป็นใคร มองหาสินค้าหรือบริการแบบไหนอยู่ เพื่อมอบสินค้าหรือบริการที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ตรงจุด เช่น ลูกค้าของธุรกิจฟิตเนส อาจไม่ได้ต้องการเครื่องออกกำลังกาย (Product) ที่พรีเมียมตัวท็อป แต่ต้องการเทรนเนอร์ที่แนะนำการออกกำลังกายได้ละเอียดมากกว่า เป็นต้น

2.ต้นทุนของผู้บริโภค (Cost)

เปลี่ยนการกำหนดราคาของสินค้าหรือบริการในฟิตเนส (Price) โดยไม่คิดถึงต้นทุน หรือกำไร แต่มาคิดต้นทุนในมุมมองของผู้บริโภค (Cost) แทน ตั้งคำถามว่าจะต้องตั้งราคาเท่าไหร่ ที่จะทำให้ลูกค้ารู้สึก "เต็มใจ" ที่จะจ่าย เพื่อให้ได้สินค้าหรือบริการนั้น ๆ 

เพราะลูกค้าไม่ได้เสียแค่ค่าสินค้าหรือบริการฟิตเนส แต่ต้องเสียค่าอื่น ๆ เช่นค่าน้ำมัน หรือค่าเสียเวลาด้วย จึงต้องทำความเข้าใจในมุมมองของผู้บริโภคเพิ่มเติม เพื่อตั้งราคาให้ละเอียดและตอบโจทย์ลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น

แม้ว่าความพึงพอใจในด้านราคานั้น ดูจะเป็นสิ่งที่อธิบายให้เห็นภาพได้ยาก แต่มีสูตรที่สามารถให้ธุรกิจฟิตเนสนำไปปรับใช้อย่างเป็นรูปธรรมได้ คือ "คุณค่าของสินค้า - ค่าใช้จ่าย = / > 0"

ขอบคุณภาพจาก engoo

อธิบายด้วยเหตุการณ์สมมุติคือ หากลูกค้าคิดว่าสินค้า/บริการของฟิตเนสนั้น มีคุณค่าราคา 1,000 บาท และลูกค้ามีค่าใช้จ่าย เช่นค่าน้ำมัน ค่าเสียเวลา ตีเป็นเงิน 200 บาท และฟิตเนสขายสินค้าหรือบริการนั้น ๆ ในราคา 500 บาท ก็จะทำให้เกิดเป็นตามสูตรคือ

" 1,000 - (200+500) = / > 0"

ซึ่งความหมายคือ เมื่อนำมูลค่าสินค้า (1000) มาหักลบกับค่าใช้จ่ายของลูกค้า (200+500) แล้วถ้าผลลัพธ์ไม่ติดลบ แสดงว่าอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ลูกค้ารู้สึกเต็มใจที่จะจ่าย คุ้มค่า เพราะจ่ายถูกกว่ามูลค่าสินค้าที่ได้รับนั่นเอง

3.ความสะดวกในการซื้อ (Convenience)

เปลี่ยนจากการคิดเรื่องสถานที่ (Place) มาเป็นคำนึงถึง การมอบความสะดวกในการซื้อให้กับลูกค้า ทำได้โดยกระจายสินค้าหรือบริการของฟิตเนส ไปยังหลายพื้นที่ให้มากขึ้น หรือต่อยอดจากออฟไลน์หน้าร้าน สู่แพลตฟอร์มออนไลน์ เช่นการเปิดคอร์สเทรนออกกำลังกายออนไลน์ หรือทำฟิตเนสเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง ซึ่งจะช่วยเอาชนะใจ ดึงดูดลูกค้าได้หลากหลายกลุ่มมากกว่าเดิม

4.การสื่อสาร (Communication)

นอกจากการสื่อสารด้านโปรโมชั่น (Promotion) เพื่อดึงดูดใจลูกค้าแล้ว สามารถใช้เทคนิคส่งเสริมการขาย อย่างการสื่อสาร (Communication) เพื่อทำให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกผูกพันธ์กับแบรนด์จนกลายเป็นลูกค้าประจำ สร้าง Brand Loyalty ได้ด้วยกลยุทธ์การสื่อสารเหล่านี้

  • Key Opinion Leaders (KOLs) ผู้นำทางความคิด คือบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์
  • Real Time Marketing (RTM) การตลาดตามเทรนด์ เป็นวิธีทำการตลาดโดยใช้ประโยชน์จากกระแสสังคมในขณะนั้น ไม่ว่าจะคลิปไวรัล, ข่าวดัง, คอนเทนต์ที่คนกำลังพูดถึง เพื่อสื่อสารไปยังผู้คนจำนวนมากในเวลานั้น ๆ 
  • Customer Relationship Management (CRM) การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า คือทำให้ลูกค้าเกิดความพอใจสูงสุดในการใช้สินค้าหรือบริการ เพื่อก่อให้เกิด Brand Loyalty
  • Customer Support (CS) การสนับสนุนลูกค้า สร้างแผนกหรือทีมที่คอยให้ความช่วยเหลือลูกค้า เมื่อประสบปัญหาจากสินค้าหรือบริการ มุ่งเน้นไปที่การแก้ปัญหา เพื่อให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกที่ดีต่อแบรนด์
  • Personalized Marketing (PM) การทำการตลาดแบบเฉพาะบุคคล เข้าถึงพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายด้วยสื่อโฆษณา หรือแคมเปญการตลาด ที่เน้นให้เกิการรับรู้ต่อแบรนด์หรือร้านค้า
  • Public Relations (PR) การประชาสัมพันธ์ คือการสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความน่าเชื่อถือ รักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ ผ่านกลยุทธ์การสื่อสารต่าง ๆ เช่น การจัดแถลงข่าว, การทำ CSR (Corporate Social Responsibility) 
  • Content Marketing (CM) กลยุทธ์การตลาดผ่านการสร้าง “คอนเทนต์” โดยสามารถเลือกทำคอนเทนต์ได้หลากหลายแบบ แตกต่างกันตามความต้องการ เช่นทำเพื่อดึงดูดลูกค้า, ทำเพื่อสร้างการรับรู้, ทำเพื่อกระตุ้นยอดขาย ก็จะใช้รูปแบบคอนเทนต์ที่แตกต่างกัน
ขอบคุณภาพจาก Gymleads

ปรับใช้ 4C กับธุรกิจฟิตเนส ช่วยสร้างลูกค้าใหม่ เพิ่มกำไรได้จริง

จะเห็นว่าการใช้ 4C นั้นจะช่วยดึงดูดลูกค้า สร้างกำไรให้มากขึ้นได้ เพราะจะทำให้ธุรกิจตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น เน้นไปที่การมอบประสบการณ์ที่ดีในการใช้บริการ คำนึงถึงมุมมองของ “ลูกค้า” เป็นหลัก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะกับธุรกิจฟิตเนส ที่จำเป็นจะต้องเอาชนะใจ เพื่อสร้างฐานลูกค้าระยะยาว มากกว่าการเพิ่มยอดขายในระยะสั้น แต่ไม่ยั่งยืน

สร้างฟิตเนสยืนหนึ่ง สร้างฐานลูกค้าอย่างยั่งยืน ปรึกษา NBA Sportmanagement เลย ! 

ปรับ Fitness เพื่อเป็น Top of Mind ในใจลูกค้า ให้ NBA Sportmanagement ช่วย ปรึกษาฟรี! รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญประสบการณ์ 20 ปี พร้อมแนะนำอุปกรณ์ออกกำลังกายทุกรูปแบบ ให้ฟิตเนสทันสมัย ไม่ตกเทรนด์ ทัก NBA Sportmanagement >>> m.me/NBAsportmangement

ต้องการเปิดฟิตเนส?

ให้เราช่วยบอกคุณว่าควรเริ่มต้นอย่างไรให้ได้กำไรเข้าธุรกิจยิมของคุณให้ได้มากและเร็วที่สุด เราให้คำปรึกษาฟรีที่เหมาะกับขนาดพื้นที่และงบประมาณ

ปรึกษาฟรี!